วันศุกร์ที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

จรรยาบรรณวิชาชีพบัญชี

จรรยาบรรณวิชาชีพบัญชี 
                สำหรับผู้ประกอบวิชาชีพที่เกี่ยวข้องกับการบัญชี  แต่เดิมตามพระราชบัญญัติผู้สอบบัญชี  พ.ศ.  2505  ใช้คำว่า  “มรรยาท”  เพื่อกำหนดแนวทางการประพฤติปฏิบัติทางวิชาชีพของผู้ที่ประกอบการวิชาชีพสอบบัญชี  เป็น  “มรรยาทของผู้ประกอบวิชาชีพสอบบัญชี”    (Code  of  professional  ethics-Auditor) และได้มีการกำหนดมรรยาทของผู้สอบบัญชีโดยแบ่งเป็น  5  หมวด  คือ 
1.       ความเป็นอิสระ  ความเที่ยงธรรม  และความซื่อสัตย์สุจริต2.       ความรู้ความสามารถและมาตรฐานในการปฏิบัติงาน3.       มรรยาทต่อลูกค้า4.       มรรยาทต่อเพื่อนร่วมวิชาชีพ5.       มรรยาททั่วไป
ต่อมาพระราชบัญญัติวิชาชีพบัญชี  พ.ศ.  2547  กำหนดให้ผู้ประกอบวิชาชีพ  หรือผู้ที่ขึ้นทะเบียนไว้กับสภาวิชาชีพบัญชี  ซึ่งในเบื้องต้นนี้  ผู้ประกอบวิชาชีพที่มีการควบคุมโดยตรง  ได้แก่    ผู้สอบบัญชีและผู้ทำบัญชีมีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามจรรยาบรรณของผู้ประกอบวิชาชีพบัญชี               โดยมีกำหนดหัวข้อของจรรยาบรรณของผู้ประกอบวิชาชีพบัญชีไว้  ดังนี้
1.       ความโปร่งใส  ความเป็นอิสระ  ความเที่ยงธรรมและความซื่อสัตย์สุจริต2.       ความรู้ความสามารถและมาตรฐานในการปฏิบัติงาน3.       ความรับผิดชอบต่อผู้รับบริการและการรักษาความลับ4.       ความรับผิดชอบต่อผู้ถือหุ้น  ผู้เป็นหุ้นส่วน  หรือบุคคล  หรือนิติบุคคลที่ผู้ประกอบ     วิชาชีพปฏิบัติหน้าที่ให้
หากไม่ปฏิบัติตามจรรยาบรรณนี้แล้ว  กฎหมายจะถือว่าเป็นผู้ประพฤติผิดจรรยาบรรณ  และมีการกำหนดโทษของการประพฤติผิดจรรยาบรรณ  แบ่งเป็น  4  ระดับ  คือ
1.       ตักเตือนเป็นหนังสือ2.       ภาคทัณฑ์3.    พักใช้ใบอนุญาต  พักการขึ้นทะเบียน  หรือห้ามการประกอบวิชาชีพด้านที่ประพฤติผิดจรรยาบรรณ โดยมีกำหนดเวลา  แต่ไม่เกินสามปี4.       เพิกถอนใบอนุญาต  เพิกถอนการขึ้นทะเบียน  หรือสั่งให้พ้นจากการเป็นสมาชิก        สภาวิชาชีพบัญชี
นอกจากนี้ยังได้กำหนดให้มีคณะกรรมการจรรยาบรรณขึ้นในสภาวิชาชีพบัญชี  ให้เป็น        ผู้พิจารณาไต่สวนว่าผู้ประกอบวิชาชีพบัญชี  หรือผู้ซึ่งขึ้นทะเบียนไว้กับสภาวิชาชีพบัญชีประพฤติผิดจรรยาบรรณตามที่มีผู้กล่าวหาหรือไม่  และให้มีอำนาจสั่งลงโทษผู้ที่ประพฤติผิดจรรยาบรรณได้
ในการนี้  สภาวิชาชีพบัญชี  ได้ร่างแบบคำกล่าวหาสำหรับผู้ที่จะกล่าวหาผู้ประกอบวิชาชีพบัญชีในกรณีทำผิดจรรยาบรรณในเรื่องต่าง  ๆ  ซึ่งอาจใช้เป็นตัวอย่างการประพฤติผิดจรรยาบรรณที่อาจถูกกล่าวหาได้  โดยจัดกลุ่มตามหัวข้อจรรยาบรรณได้ดังนี้
1.       กระทำการใด ๆ  อันอาจนำมาซึ่งความเสื่อมเสียเกียรติศักดิ์แห่งวิชาชีพบัญชี2.    ไม่ปฏิบัติหน้าที่ของตนตามมาตรฐานการบัญชี  มาตรฐานการสอบบัญชี  หรือมาตรฐานอื่นใดที่เกี่ยวข้องที่กำหนดตามพระราชบัญญัติวิชาชีพบัญชี  พ.ศ.  25473.       ไม่ประกอบวิชาชีพบัญชีด้วยความซื่อสัตย์สุจริต4.    ใช้อำนาจหน้าที่โดยไม่ชอบธรรม  หรือใช้อิทธิพลหรือให้ผลประโยชน์แก่บุคคลใด     เพื่อให้ตนเองหรือผู้อื่นได้รับหรือไม่ได้รับงาน5.    เรียก  รับ  หรือยอมรับทรัพย์สิน  หรือผลประโยชน์อย่างใดสำหรับตนเอง  หรือผู้อื่นโดยมิชอบจากผู้ว่าจ้างหรือบุคคลใดซึ่งเกี่ยวข้องในงานที่ทำอยู่กับผู้ว่าจ้าง6.       โฆษณา  หรือยอมให้ผู้อื่นโฆษณา  ซึ่งการประกอบวิชาชีพเกินความเป็นจริง7.       ประกอบวิชาชีพเกินความสามารถที่ตนเองจะกระทำได้8.       ละทิ้งงานที่ได้รับทำโดยไม่มีเหตุอันสมควร9.       ลงลายมือชื่อเป็นผู้ประกอบวิชาชีพบัญชีในงานที่ตนเองไม่ได้รับทำ  ตรวจสอบ  หรือควบคุมด้วยตนเอง10.    เปิดเผยความลับของงานที่ตนเองได้รับทำโดยมิได้รับอนุญาตจากผู้ว่าจ้าง11.    แย่งงานจากผู้ประกอบวิชาชีพอื่นในด้านเดียวกัน12.    รับทำงาน  หรือตรวจสอบงานชิ้นเดียวกันกับผู้ที่ประกอบวิชาชีพอื่นทำอยู่  โดยไม่ใช่การตรวจสอบตามหน้าที่  และไม่ได้แจ้งให้ผู้ประกอบวิชาชีพอื่นนั้นทราบล่วงหน้า13.    ใช้  หรือคัดลอกแบบ  รูป  หรือเอกสารที่เกี่ยวกับงานของผู้ประกอบวิชาชีพอื่นในด้านเดียวกัน  โดยไม่ได้รับอนุญาต14.    กระทำใด ๆ  โดยจงใจให้เป็นที่เสื่อมเสียแก่ชื่อเสียง  หรืองานของผู้ประกอบวิชาชีพอื่นในด้านเดียวกัน15.    อื่น ๆ 
จะเห็นว่าการกระทำผิดตามมูลความผิดบางข้ออาจถือว่าเป็นการทำผิดจรรยาบรรณได้     หลายข้อ  เช่น  การไม่ประกอบวิชาชีพด้วยความซื่อสัตย์สุจริต  นอกจากจะผิดจรรยาบรรณในเรื่องของความโปร่งใสความเป็นอิสระ  ความเที่ยงธรรมและความซื่อสัตย์สุจริตแล้ว    ยังอาจถือว่าเป็นการขาดความรับผิดชอบต่อผู้ถือหุ้น  ผู้เป็นหุ้นส่วนหรือบุคคล  หรือนิติบุคคลที่ผู้ประกอบวิชาชีพปฏิบัติหน้าที่ให้อีกด้วย  ในขณะเดียวกัน  การโฆษณา  หรือยอมให้ผู้อื่นโฆษณา  ซึ่งการประกอบวิชาชีพเกินความเป็นจริงหรือการแย่งงานจากผู้ประกอบวิชาชีพอื่นในด้านเดียวกันอาจไม่สามารถจัดให้อยู่ในหัวข้อใด ๆ  ของจรรยาบรรณที่กฎหมายกล่าวถึงได้อย่างชัดเจน  แต่ก็ถือว่าเป็นสิ่งที่ไม่ควร กระทำเช่นกัน

x

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น